ผ่านไปเก้าปี เริ่มจากคนเพียงแปดคนกับจุดประสงค์ว่าอยากจะสร้างอะไรแจ่มๆ แป๊บๆได้ชื่อเรียก ก็ตั้งบริษัทกันเลย จนตอนนี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักแบรนด์นี้
ในวันนี้ Xiaomi ไม่เป็นเพียงผู้ผลิตสมาร์ทโฟน แต่เรียกได้ว่า เป็นผู้สร้างวิถีชีวิตของตนเอง มีสินค้าที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันมากมาย ตั้งแต่หลอดไฟฉลาดๆ ไปจนถึงเครื่องซักผ้า เครื่องกรองน้ำ ล้มลุกคลุกคลานก็โดนมาแล้ว ถึงกับได้ขนานนามว่า Chinese Pheonix หรือ นกฟีนิกส์แห่งเมืองจีน
จากการสร้างสมาร์ทโฟนด้วยการเลียนแบบผู้นำตลาด กระทั่งค้นพบแนวทางของตัวเอง กระทั่งเป็นฟันเฟืองตัวใหญ่ในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน ที่มีอิทธิพลต่อตลาดอย่างยิ่งยวด
เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 9 ปี เรามาดูความเป็นมาเป็นไปของบริษัทกันเถอะ
1. จุดเริ่มต้นของบริษัท
Xiaomi มีสำนักงานใหญ่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน เริ่มจากผู้ก่อตั้ง 8 คนกับพนักงาน 14 ชีวิต ในวันที่ 6 เมษายน 2010
โลโก้ของ Mi ย่อมาจากคำว่า Mobile Internet หรืออีกนัยหนึ่ง ก็มาจากคำว่า Mission Impossible ซึ่งคือภาระกิจที่ท้าทายเหลือเกิน หมายถึงสิ่งที่บริษัทต้องเผชิญและเอาชนะนั่นเอง
ภาษาจีนของ Xiaomi คือ 小米 แปลว่า ข้าวฟ่างเม็ดเล็กๆแบบที่เป็นอาหารนก เกิดจากการที่คุณพ่อของผู้ก่อตั้งท่านหนึ่งทำโจ๊กมาเลี้ยงทุกคน จึงได้ไอเดีย นำคำนี้ไปตั้งเป็นยี่ห้อเสียเลย อิ่ม ซื้อหาง่าย มีประโยชน์ทางโภชนาการครบถ้วน
เรื่องขำขัน : คุณ Lei Jun กล่าวว่า หลังจากจดทะเบียนเรื่องหมายการค้า มีคนถามว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีการเกษตรหรือเปล่า
Lei Jun และ Lin Bin สองผู้ก่อตั้ง เป็นเพื่อนกันมาก่อน พบกันในช่วงปี 2009 เมื่อ Google ประสงค์จะร่วมมือกับ UC Browser จากนั้น Lin Bin ก็เป็นหัวหน้าส่วนการพัฒนาธุรกิจในจีนและผลิตภัณฑ์มือถือของ Google ส่วน Lei Jun ก็เป็นประธานของ UC Web
2. รวบรวมผู้ก่อตั้ง
Xiaomi เริ่มจากผู้ก่อตั้งรวม 8 คน ทั้งหมดมีอายุประมาณ 30 – 40 ปี ณ ขณะนั้น ซึ่งยังเด็กกว่าอายุเจ้าของกิจการโดยเฉลี่ยในประเทศจีน แต่ประสบการณ์ของแต่ละคน โชกโชนไม่น้อย เริ่มจาก
Lei Jun [ชือเล่น Lei Zong]
จาก Kingsoft
ปัจจุบัน CEO แห่ง Xiaomi
Lin Bin [ชือเล่น Bin Zong]
จาก Google
ปัจจุบัน ประธานบริษัท และ หัวหน้าส่วนงานมือถือ
Li Wanqiang [ชือเล่น Alee]
จาก Kingsoft
ปัจจุบัน หัวหน้าส่วนทีมธุรกิจ E-Commerce
Kong-Kat Wong [ชือเล่น KK]
จาก Microsoft
ปัจจุบัน หัวหน้าส่วน Mi Wi-Fi และ Mi Cloud
Wang Chuan [ชือเล่น Chuan Sir]
ปัจจุบัน ประธานบริษัท และ หัวหน้าส่วนธุรกิจสมาร์ททีวี
Hong Feng
จาก Google
ปัจจุบัน หัวหน้าส่วน MIUI
Guangping Zhou (ex-Motorola)
จาก Motorola
ปัจจุบัน หัวหน้าส่วนฮาร์ดแวร์และทีม Board Support Package (BSP)
Liu De [ชือเล่น Brother De]
ปัจจุบัน หัวหน้าส่วนงานพัฒนา Industrial Design และ Ecosystem
3. พนักงานบริษัท
Xiaomi เริ่มจากพนักงานเพียง 14 คน ตอนนี้มากกว่า 18000 คนในประเทศจีน อินเดีย และ อื่นๆ ในขณะที่คุณ Lei Jun และ Lin Bin ถือหุ้นส่วนในบริษัทกว่า 40% พนักงานอีกกว่า 7000 คนก็ได้รับส่วนแบ่งหุ้นเช่นกัน เนื่องจากว่าผู้บริหาร Xiaomi ให้ข้อเสนอ เป็นส่วนแบ่งหุ้นตั้งแต่เริ่มงาน กล่าวกันว่า พนักงานประมาณ 56 คนในยุคต้นๆ จะกลายเป็นเศรษฐีอย่างแน่นอน
ในปี 2010 คุณ Lei Jun และผู้ร่วมก่อตั้ง กำลังอยู่ในช่วงรวบรวมเงินลงทุน มีพนักงานชื่อคุณ Li Weixing และอีกสองสามคน ต้องการร่วมลงทุนด้วย คุณ Lei Jun ก็อนุญาตให้ทุกคนเข้าร่วมลงทุนได้ ยกเว้นแต่เพียงคุณ Li Weixing คนเดียว การเปิดให้ลงทุน กำหนดเพดานสูงสุดที่ 300,000 หยวน และมีผลตอบแทนตามยอดที่ลงทุน คุณ Lei Jun ประสงค์ว่าไม่ต้องการให้กู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาลงทุน คุณ Li Weixing ถึงกับต้องใช้เงินสินสอดประมาณ 100,000 ถึง 200,000 หยวน มาลงทุนจนได้ ทุกคนจะเรียกเธอว่าเป็นพนักงานหมายเลข 14 จากที่เคยเป็นพนักงานต้อนรับ ตอนนี้มีหน้าที่อยู่ในส่วนงานทรัพยากรมนุษย์ หลายคนที่ลงทุนในนี้ ปัจจุบันเป็นเศรษฐีไปเรียบร้อยแล้ว
4. การเริ่มต้นของสมาร์ทโฟนจุดเริ่มที่น่าจดจำ
2010
เวอร์ชั่นแรกของหน้าตา Android ที่บริษัทเลือกใช้และออกแบบภายใต้ชื่อ MIUI พึ่งเปิดตัวในประเทศจีน
2011
สมาร์ทโฟนของ Xiaomi รุ่นแรกคือ Mi 1 เปิดตัวในวันที่ 16 สิงหาคม ใช้ชิปเซ็ต 1.5 GHz Dual – Core วางจำหน่ายในเดือน ตุลาคม เฉพาะช่องทางออนไลน์เท่านั้น ด้วยราคาเปิดตัว 1999 หยวน
2012
- Xiaomi เปิดตัว Mi 2 ด้วยชิปเซ็ต Snapdragon S4 Pro APQ8064 รุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศจีน
- บริษัทมียอดขายกว่า 7.19 ล้านเครื่องในปีนั้น
2013
- Xiaomi เปิดตัว Mi 3 ใน 2 เวอร์ชั่น เวอร์ชั่นแรกกับชิปเซ็ต Snapdragon 800 และอีกหนึ่งเวอร์ชั่นใช้ชิปเซ็ต NVIDIA Tegra 4 กลายเป็นสมาร์ทโฟนระดับเรือธงของแบรนด์ ซึ่งวางแผนจะทำการตลาดต่างประเทศในปีถัดไป
- ในปีเดียวกันก็ได้เปิดตัว Series โทรศัพท์ใหม่ เน้นไปยังกลุ่มที่ต้องการความคุ้มค่า ราคาประหยัด บริษัทเลือกใช้ชื่อของซีรีส์นี้ว่า Redmi และเปิดตัว Redmi 1 เป็นรุ่นแรกของซีรีส์นี้ ในเดือนกรกฎาคม 2013 ใช้ชิปเซ็ต MediaTek MT6589T Ram 1 GB ได้รับความนิยมในท้องตลาดเป็นอย่างมาก
- การเจริญเติบโตของฐานผู้ชื่นชอบในแบรนด์ ขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ Xiaomi มียอดขายในปีนี้กว่า 18.3 ล้านเครื่อง ซึ่งเติบโตขึ้นกว่า 50 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
2014
- เป็นครั้งแรกของ Xiaomi ที่พยายามทำการตลาดนอกประเทศจีน
- แห่งแรกที่เข้าทำการตลาดเป็นประเทศสิงคโปร์ ตามด้วย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์
- นำร่องเข้าทำตลาดในประเทศอินเดีย ด้วยเรือธง Mi 3
- เมื่อเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ ทางบริษัทจึงทำการ บริหารการตลาดเน้นสั่งออนไลน์ทั่วโลก เริ่มต้นจากการซื้อชื่อเว็บไซต์ Mi.com ด้วยตัวเงิน 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นชื่อเว็บไซต์ที่แพงที่สุดที่ซื้อในประเทศจีน ณ เวลานั้น
- เกิดญาติที่ขยายร่างจาก Redmi 1 ในชื่อ Redmi Note Xiaomi ทำยอดขายกว่า 61.12 ล้านเครื่องในปีนี้
5. ช่วงเวลาทดลองสิ่งใหม่ๆ
2015
- Xiaomi เปิดตลาดใหม่ไปยังประเทศบราซิล
- บริษัทตัดสินใจ ในการลงหลักปักฐานที่ประเทศอินเดีย และเปิดตัว Mi 4i ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่มีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับตลาดอินเดียโดยเฉพาะ เป็นครั้งแรกที่เปิดตัวในอินเดียก่อนประเทศบ้านเกิด
- บริษัทรุกหนักในตลาดออนไลน์ กระนั้นก็ยังไม่สามารถทำเป้าได้ 100 ล้านเครื่องที่วางไว้ บริษัทยอมรับว่า มีการเจริญเติบโตที่เร็วไปนิด เวลานั้นไม่ได้เปิดเผยยอดขายที่แท้จริง แต่ว่ากันว่าทำยอดได้ประมาณ 70 ล้านเครื่อง ซึ่งห่างไกลจากเป้าอยู่มากโข
2016
- เป็นปีที่ค่อนข้างตะกุกตะกัก Xiaomi ต้องปิดส่วนงานในประเทศบราซิล
- มีการเปิดตัวซีรีส์ Mi Max และ Xiaomi Redmi Note 3 ซึ่งได้กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ขายดีที่สุดรุ่นหนึ่งในประเทศอินเดีย
- Xiaomi เข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านทางตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ABC Data
- ในเดือนพฤศจิกายน 2016 Xiaomi ประกาศสมาร์ทโฟน ที่จะทำให้เรามีความตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ด้วยซีรีส์ Mi Mix ที่ไร้ขอบถึงศาล 3 ด้าน อัตราส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องสูงมาก ทางบริษัทวางแผนที่จะขึ้นเป็นผู้นำด้วยดีไซน์สวยงามและโดดเด่น นับเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่เปลี่ยนตลาดสมาร์ทโฟนจริงๆ
- ในปี 2016 ก็ยังถือว่าเป็นปีที่ค่อนข้างแย่สำหรับ Xiaomi การขายเฉพาะช่องทางออนไลน์ได้ผลน้อยลง และยังมีคู่แข่งอย่าง OPPO และ Vivo ที่มีกลยุทธ์ในช่องทางการจำหน่ายออฟไลน์ที่แข็งแรง Xiaomi ถูกดึงส่วนแบ่งทางการตลาดค่อนข้างมากทีเดียว จบสิ้นปีทำยอดขายได้ที่ 53 ล้านหน่วย ข้างลดจากปีที่ผ่านมาและไม่ถึงเป้าที่บริษัทได้วางไว้
6. คืนชีพ! ฟีนิกส์แห่งเมื่องจีน
2017
- หลังจากที่มียอดขายตกต่ำติดต่อกันถึง 2 ปี หลายคนเริ่มคาดว่า Xiaomi เป็นธุรกิจ Startup ที่รุ่งเรืองในช่วงแรกและตกต่ำในระยะยาว เหมือนธุรกิจ Startup อื่น
- สิ้นปี 2017 Xiaomi ทำยอดขายได้มากกว่า 92 ล้านหน่วย นับเป็นปรากฏการณ์อีกครั้งในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนในประเทศจีน
- Xiaomi ได้ปรับปรุงนโยบายการจำหน่ายผ่านร้านค้าเป็นครั้งแรกโดย CEO Lei Jun จุดประกาศว่าจะเปิดร้านค้าอย่างเป็นทางการถึง 200 สาขา ภายในสิ้นปี
- Xiaomi ประสบความสำเร็จในตลาดอินเดีย ในช่วง 2 ปีล่าสุด โดยสามารถทำยอดขายได้สูงกว่า Samsung และกลายเป็นบริษัทสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ในอินเดีย
- บริษัทได้เปิดนี่ Mi Store สาขาแรกใน Bengaluru, India และวางแผนว่าจะเปิดสาขาเพิ่มอีกในอินเดีย 100 สาขาภายในระยะเวลา 2 ปี
- Xiaomi เซอร์ไพรส์เหล่าแฟนๆด้วยการเปิดตัว Mi A1 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android One แทนที่จะเป็น MIUI ตามปกติ
2018
- บุกตลาดยุโรปผ่านทาง CK Hutchinson Holdings ซึ่งเป็นเจ้าขององค์กรโทรคมนาคมและสัญญาณอินเตอร์เน็ต 3 รายใหญ่ในสหราชอาณาจักร ทำให้ Xiaomi สามารถเข้าไปจำหน่ายใน อังกฤษ ออสเตรีย สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และ อิตาลี ได้
- เปิดตัว Mi Mix 2S สมาร์ทโฟนระดับเรือธงตัวแรก ที่มีชื่อเสียงทางด้านกล้องด้วยคะแนน DxOMark ถึง 97 แต้ม ทำให้ Xiaomi เริ่มมีชื่อเสียงในด้านสมาร์ทโฟนกล้องสวยขึ้นมาทันที
- Xiaomi ประกาศ ขอทำกำไรหลังหักภาษีสำหรับทุกประเภทธุรกิจ ไม่เกิน 5% ต่อปี
- Xiaomi เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ในราคา 17 เหรียญฮ่องกง ด้วยยอด 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้บริษัทมีมูลค่ากว่า 54 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- Xiaomi มียอดขายติดลมบนแล้วในปี 2018 ทำยอดขายเกินหลัก 100 ล้านเครื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและจบสิ้นปีด้วยยอด 122 ล้านเครื่อง
2019
- เดือนมกราคม 2019 Xiaomi ตัดสินใจแยก Redmi ออกมาเป็นอีกแบรนด์หนึ่ง โดยแต่งตั้งคุณ Lu Weibing อดีตผู้อำนวยการบริษัทสมาร์ทโฟน GIONEE เข้ามาดูแล
- เพิ่มระยะการรับประกันยาวนานถึง 18 เดือน สำหรับ Redmi Note 7 เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน
- Mi Mix 3 5G ตัวในงาน MWC2019 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ ที่ใช้มาตรฐานสัญญาณแบบใหม่ 5G
- Xiaomi ยกระดับกล้องถ่ายภาพของแบรนด์เข้าสู่ Top 5 ของโลก ด้วยกล้องจาก Mi 9 ด้วยคะแนน DxOMark ที่ 107 คะแนน
7. 9 ปี กับ สถิติอันน่าภาคภูมิ
- มีผู้ใช้ MIUI มากกว่า 242.1 ล้านราย
- มีผู้ใช้อุปกรณ์ IoT 151 ล้านราย และ จากกลุ่มนั้น 2.3 ล้านราย เป็นเจ้าของอุปกรณ์ IoT มากกว่า 5 ชิ้นที่เป็นแบรนด์ Xiaomi
- ขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้าน Smart TV ในประเทศจีน
- ปัจจุบันจำหน่ายมากกว่า 70 ประเทศ เป็น Top 5 ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใน 16 ตลาด
- จะมีร้านค้า Mi Home Store มากกว่า 2000 แห่งทั่วโลกในปี 2019
- บริษัทถือครองสิทธิบัตรการออกแบบต่างๆ 24000 ฉบับทั่วโลก และยังมี 5920 ชิ้น ที่ยังไม่ถูกใช้งาน
เทียบกับผู้ผลิตรายใหญ่อีกหลายรายในท้องตลาด Xiaomi ถือว่ามีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก สามารถทำยอดขายระดับหนึ่งแสนล้านหยวนได้สำเร็จภายใน 7 ปี ขณะที่ในเป้าหมายเดียวกัน Apple ใช้เวลา 20 ปี, Facebook 12 ปี, Google 9 ปี, Alibaba 17 ปี, Tencent 17 ปี, และ Huawei 21 ปี
หลังจากเปิดตัวหุ้น IPO ฮ่องกง บริษัทมีกลยุทธ์และความหลากหลายของสินค้าที่แข็งแรง จนทำให้สามารถเปิดตัวสินค้า 44 ชิ้นที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟนในเดือนมกราคม 2019
หวังว่าในปีที่ 9 นี้ เราจะเห็นสินค้าที่แปลกใหม่ เต็มไปด้วยนวัตกรรม ให้พวกเราได้ใช้กันอีกมากมาย ในราคาดี๊ดีเช่นเคย