รองศาสตราจารย์วิชาเคมีจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยทาลลินท์ในเอสโตเนีย ร่วมกับนักวิจัยจากนอร์เวย์, โรมาเนียและกรีซ ได้ใช้ระยะเวลา 3 ปี ที่ร่วมกันศึกษาว่า จะทำให้สารตกค้างจากอุตสาหกรรมของครัสเตเซีย ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง อย่างเช่น กุ้ง, กั้งและปู ใช้งานได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร รวมถึงเพื่อจะนำไปใช้ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาแผลไฟไหม้ ซึ่งในแต่ละปีนั้นจะมีกุ้งและปูเป็นจำนวนมาก 6-8 ล้านตัน ที่กลายเป็นขยะในโลก ซึ่งแน่นอนว่ามันใช้เวลานานมากที่จะย่อยสลายไปกับธรรมชาติ จึงทำให้เหล่านักวิจัยร่วมกันคิดและศึกษาว่าจะมีวิธีอย่างไรบ้างที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ณ ตอนนี้ก็ยังไม่มีวิธีการที่ดีพอที่จะทำให้เปลือกของครัสเตเซียนหรือเรียกตามที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่าสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งเหล่านี้นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะสกัดไคตินออกจากเปลือกของสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ถึงจะมีความเป็นไปได้แต่ก็สร้างประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง เพราะเนื่องจากมันไม่ละลายน้ำ
อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่หมดหวัง เพราะเนื่องจาก Tuvikene ได้กล่าวว่า การผลิตไคโตซานจากไคตินนั้น ที่เป็นสารธรรมชาติอยู่ในเปลือกแข็งของสัตว์น้ำและมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งนั่นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาแผลไฟไหม้ที่มีการติดเชื้อได้ง่ายและต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างยาวนาน
นอกจากนี้ ไคโตซานเคยถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้บาดเจ็บจากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน ดังนั้นแล้วไคโตซานก็อาจจะใช้รักษาแผลในอนาคตได้ ซึ่งทางนักวิจัยนั้นก็ได้ร่วมกันพัฒนาและผลิตแผ่นคล้ายกับเจลที่สามารถวางบนบาดแผลได้เลย
นำเสนอข่าวโดย : StepGeek.TV
ที่มา : researchinestonia, eurekalert