บางคนอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่าการสื่อสารใต้น้ำนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสมอ เพราะเนื่องจากการส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุนั้นจะไม่สามารถส่งไปในระยะไกลได้ เพราะมันจะถูกน้ำดูดซับให้สัญญาณนั้นหายไป ดังนั้นแล้วการส่งสัญญาณด้วยคลื่นเสียงโซนาร์นั้นจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญและได้รับการเลือกเป็นอันดับแรกในการสื่อสาร ถึงแม้ว่าอัตราการส่งข้อมูลจะค่อนข้างต่ำมากก็ตาม แต่แน่นอนว่าคงจะดีถ้าเรามี WiFi ที่สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตใต้ทะลได้
โดยทางนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย King Abdullah University of Science and Technology (KAUST) ในประเทศซาอุดิอาระเบียจึงได้คิดค้นและพัฒนา WiFi ใต้น้ำ ที่มีชื่อเรียกว่า Aqua-Fi ขึ้นมา ด้วยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์และชื่อส่วนใหม่ล่าสุดเพื่อนำมาสร้างเป็นการสื่อสารหรือการเชื่อมต่อแบบไร้สายแบบ 2 ทิศทางสำหรับอุปกรณ์ใต้น้ำ โดยระบบดังกล่าวนั้นจะรองรับมาตรฐานไร้สาย IEEE 802.11 ซึ่งนั่นก็หมายความว่า จะสามารถเชื่อมต่อง่ายและใช้งานง่ายได้เหมือนเล่นอินเทอร์เน็ตในบริเวณที่กว้างขึ้น
Aqua-Fi นั้นเกิดจากงานที่นักวิจัย KAUST ได้พัฒนาและคิดค้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งพวกเขาได้ใช้เลเซอร์สีน้ำเงินเพื่อส่งไฟล์ที่มีขนาด 1.2GB ใต้น้ำ แต่ทางรองศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ KAUST นั้นเกิดความไม่พอใจและพูดว่า ”ใครจะไปสนใจเรื่องการส่งไฟล์ ทำไมไม่ลองทำอะไรที่มากกว่านั้นล่ะ” จึงทำให้นักวิจัยเริ่มมีความคิดและเริ่มมองหาการสื่อสารแบบ 2 ทิศทาง โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างระบบที่จะสามารถถ่ายโอนวีดีโอที่มีความละเอียดสูงขึ้นมา
การออกแบบครั้งแรกที่ทางนักวิจัยเริ่มใช้ไฟ LED แทนเลเซอร์ แต่กลับพบว่าไฟ LED นั้นไม่ทรงพลังเพียงพอสำหรับการส่งข้อมูลที่สูง ซึ่งไฟ LED นั้นมีอัตราในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำมาก ที่รองรับการรับส่งข้อมูลในระยะที่ 7 เมตรเท่านั้นและมีความเร็วอยู่ที่ 100 Kbps พอนักวิจัยได้หันมาใช้เลเซอร์สีน้ำเงินและสีเขียวแทน ความเร็วจะเพิ่มเป็น 2.11 Mbps และรับส่งข้อมูลในระยะที่ 20 เมตร
การใช้งานนั้นจะต้องใช้กับอุปกรณ์กันน้ำในการรับส่งข้อมูล อย่างสมาร์ทโฟนกันน้ำ จากนั้นก็ใช้การรับส่งสัญญาณ WiFi แบบเดิมในการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับโมเด็มใต้น้ำที่พัฒนามาจาก Raspberry Pi ที่ติดอยู่ที่หลังของนักดำน้ำ จากนั้นโมเด็มจะเปลี่ยนสัญญาณไร้สายให้เป็นแสงเลเซอร์ ยิงกลับไปที่ทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำและตัวทุ่นก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังดาวเทียบเพื่อที่จะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ การใช้ WiFi ที่ใต้น้ำนั้นยังมีประโยชน์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารใต้ทะเลได้แบบเรียลไทม์, สามารถติดตั้งกล้องส่งภาพและวีดีโอที่มีความละเอียดสูงมายังบนภาพพื้นดินได้เลย เอาเป็นว่าอนาคตก็ไม่รู้ว่าจะอีกกี่ปีก็ตามแต่ เราอาจจะได้เห็น Data center ไปตั้งอยู่ใต้น้ำก็เป็นได้นะจ๊ะ
นำเสนอข่าวโดย : StepGeek.TV
ที่มา : spectrum, regardnews